เหล็กไวด์แฟรงค์ เหล็กไอบีม เหล็กเอชบีม ความคล้ายที่แตกต่าง

26477 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เหล็กไวด์แฟรงค์ เหล็กไอบีม เหล็กเอชบีม ความคล้ายที่แตกต่าง

เหล็กไวด์แฟรงค์ เหล็กไอบีม เหล็กเอชบีม ความคล้ายที่แตกต่าง

เหล็กไวด์แฟรงค์ เหล็กไอบีม เหล็กเอชบีม (Wide Flange, I beam, H beam)  แตกต่างกันอย่างไร บางคนมักมองไม่เห็นความแตกต่างของเหล็กแต่ละชนิด และ ถ้าหากหน้าตาของเหล็กมีควาามคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันเล็กน้อย ยิ่งทำให้ไม่สามารถแยกเหล็กแต่ละชนิดออกได้ และไม่สามารถนำไปใช้งานให้ตรงกับลักษณะงานก่อสร้างของตนเองได้เช่นกัน ดังนั้น เรามาศึกษาวิธีการแยกความแตกต่างของเหล็กแต่ละชนิดสามารถทำได้ ดังนี้ 

แยกความแตกต่างของเหล็กจากลักษณะกายภาพ หรือ ลักษณะของเหล็ก

  • เหล็กไวแฟรงค์ WF จะมีลักษณะเด่นตรงที่ ความกว้างของแผ่นเหล็กตรงกลางจะมากกว่าปีกทั้งที่ข้าง และ มีความหนาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ
  • เหล็กไอบีม เหล็กตัวไอ จะมีลักษณะของ ปีกบนและปีกล่างเป็นแผ่นเอียง ความหนาของเหล็กมากกว่า เพื่อสามารถรับแรงกระแทกได้ดี เหล็กโครงสร้างชนิดนี้จึงมีเนื้อเดียวกัน มีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า H-Beam
  • เหล็กเอชบีม เหล็ก ตัวH ลักษณะเด่นคือ ปีกมีความกว้างเท่ากันกับความกว้างของแผ่นตรงกลาง ดีไซน์ลักษณะของตัวเหล็กเป็นรูปตัวเอช
  • WF กับ H-Beam ต่างกันตรงที่ WF เป็นหน้าตัดเหล็กตามมาตรฐาน ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน H-Beam เป็นหน้าตัดเหล็กตามมาตรฐาน  มอก. 1227-2539

แยกความแตกต่างของเหล็กจากลักษณะการนำไปใข้งาน

  • เหล็ก ไวแฟรงค์ เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง เสา คาน โครงสร้างหลังคา นิยมในงานโครงสร้าง ซึงนำมาใช้แทนโครงสร้างคอนกรีต เพราะการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน ลดขั้นตอนการทำงาน การดูแลรักษาที่ทำได้ง่ายกว่า และมีสไตล์ที่โดดเด่นกว่า
  • เหล็ก I Beam เหมาะสมกับงานก่อสร้างที่รับน้ำหนักมาก รับแรงกระแทกสูง เหมาะสมกับงานที่เฉพาะเจาะจง เช่น รางเลื่อนของเครนในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีความหนามากกว่าเหล็กชนิดอื่น จะนิยมนำไปทำรางเคนยกของที่มีน้ำหนักมาก
  • เหล็กเอชบีม H ลักษณะการใช้งานของเหล็ก นิยมใช้ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และอสังหาริมทรัพย์ เพราะลักษณะเฉพาะตัวที่สวยงามเป็นเทรนด์ก่อสร้างที่ทันสมัย แข็งแรงคงทน เป็นโครงสร้างหลักได้ดี ควรค่าแก่การลงทุน
  • เหล็กไอบีม และ เอชบีม เหล็กทั้งสองประเภทนี้ สามารถต้านทานการตัดโค้ง (Bending) และการบิด (Twisting) ได้ดี จึงใช้เป็น เสา (Columns), คาน (Beams) และตงพื้น (Bridge girders) ในงานก่อสร้างและงานสถาปนิก
  • WF หรือ H-Beam เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในงานก่อสร้างอาคาร ในส่วนของ เสา, คาน, โครงหลังคา เนื่องจาก ปีกทั้งบนและล่าง ของเหล็ก WF หรือ H-Beam จะเป็นแผ่นเรียบหนาเท่ากันตลอด สามารถรับ แรง และ โมเมนต์ ได้ดีกว่าเหล็ก I-Beam
  • I-Beam เหมาะสำหรับนำไปทำเป็นรางเครน ที่ไว้ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เนื่องจากปีกบนและล่างของเหล็ก I-Beam จะเป็นแผ่นเอียง หรือ Taper Flange ซึ่งในขนาดหน้าตัดเหล็กที่เท่ากัน I-Beam จะมีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า H-Beam เนื่องจากเหล็ก I-Beam จะมีความหนาของเหล็กมากกว่า เพื่อรองรับแรกกระแทก และการเคลื่อนที่จากราง

CR. lekkla.com

Powered by MakeWebEasy.com